หลุมสิวเกิดจากการที่เราเป็นสิวอักเสบแล้วไม่รีบรักษาให้สิวอักเสบนั้นให้หายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เมื่่อมีการบีบหรือกดสิวออกนั้นจึงฝากแผลเป็นหลุมสิวไว้ที่ใบหน้าเราไว้เป็นอนุสรณ์ เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจยิ่งนัก เพราะการรักษาหลุมสิวนั้นยาก และใช้เวลาในการรักษามากกว่าการรักษาสิวเป็น 100 เท่าเลยทีเดียว ในปัจจุบันมีการรักษาหลุมสิวมากมายหลายวิธี ทั้งนี้การรักษาที่จะได้ผลดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะหลุมสิวของเรา ว่ามีลักษณะแบบไหน เป็นมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะเลือกวิธีรักษาหลุมสิวที่ดีที่สุด และเหมาะสมกับใบหน้าของเรามากที่สุด
การรักษาหลุมสิวด้วยวิธีเซาะพังผืด หรือที่เรียกเป็นภาษาอิงลิชว่า Subcision เป็นการรักษาหลุมสิวด้วยการใช้เข็มที่มีขนาดเล็ก (เบอร์ 18) ซึ่งเรียกว่าเข็ม Nokor Needle เป็นเข็มที่มีลักษณะพิเศษตรงที่ที่ปลายเข็มจะเป็นมีดขนาดเล็กไว้ใช้สำหรับ ตัด เซาะ พังผืดบริเวณหลุมสิวของเรา แต่ไม่ได้ตัดทิ้งไปนะครับ เพียงแต่เซาะเข้าไปที่ใต้หลุมสิวของเราแต่ละหลุม เพื่อให้เกิดแผล หรือช่องว่างบริเวณใต้หลุมสิวของเรา ทำให้พังผืดที่ยึดอยู่ทีผลุมสิวหลุดออก และเป็นการกระตุ้นผิวหน้าของเราให้มีการรักษาอาการบาดเจ็บจากการถูกเซาะผิว ด้วยการเร่งสร้างคอลลาเจนบริเวณหลุมสิวของเรา เป็นการรักษาที่เหมาะกับคนที่เป็นหลุมสิวมานานหลายปีโดยไม่เคยรักษาหลุมสิวมาก่อนเลย ซึ่งหากรักษาหลุมสิวด้วยวิธีอื่นก่อนเลยอาจจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงต้องมีการทำ Subcision ก่อนเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด
ขั้นตอนการรักษาหลุมสิวด้วย Subcision
- หมอจะพาเราไปล้างหน้าให้สะอาดหมดจดก่อนเริ่มทำ
- ทายาชาที่หน้าของเรา ทิ้งไว้ประมาณ 30-45 นาที (หลับได้ตื่นหนึ่ง)
- หมอจะมาปลุกเราให้ตื่น พร้อมกับอาวุธคู่มือ ก็คือเข็ม Nokor (เป็นการรักษาหลุมสิวที่ใช้อุปกรณ์น้อยมาก)
- หมอจะเริ่มลงดาบ เอ๊ย! ลงเข็มไปที่หน้าของเราบริเวณจุดที่เป็นหลุมทีละจุด ทีละจุด
- เวลาโดนกรีดที่หน้าจะรู้สึกเสียวๆ เหมือนโดนมีดคัตเตอร์บาด คือเสียงมันจะ กึด กึด แต่ก็ไม้ได้เจ็บอะไร (ก็ทายาชาแล้วนี่นา)
- ระหว่างที่ทำจะมีการคอยซับเลือดที่เกิดจากการเซาะหลุมสิว และมีการประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมของแผล
- หลังทำก็จะประคบเย็นอีกรอบเพื่อลดความบวม
ข้อดีของการรักษาหลุมสิวด้วย Subcision
- เป็นวิธีรักษาหลุมสิวที่ได้ผลดีมาก เพราะมีการเซาะพังผืดออกทำให้เกิดการสร้างเนื้อที่หลุมสิวได้ดี เหมาะกับคนที่เป็นหลุมสิวมานาน และเหมาะกับคนที่เป็นหลุมสิวแบบแอ่งกระทะ (Rolling Scar)
- ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก คิดเป็นจุดๆไป จุดละประมาณ 250-300 บาท หรือบางที่อาจจะทำให้ฟรีโดยการซื้อคอร์สรักษาหลุมสิวอื่นๆก่อน เช่น Dermaroller
- ไม่มีผลข้างเคียง เพราะไม่มีการใช้แสงเลเซอร์ ไม่มีการใส่สารบำรุงเข้าผิว ไม่มีแผลเป็น แผลที่เกิดจากการกรีด เซาะ เล็กๆมากๆ อาจจะช้ำในช่วงแรกแต่จะหายไปภายใน 1 สัปดาห์
- ไม่ต้องพักฟื้นนาน หน้าอาจจะดูช้ำนิดๆ แต่ก็ไม่ได้บาดเจ็บสาหัสเหมือนทำ Dermaroller หรือเกิดสะเก็ดแผลเหมือนการรักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์ คือทำคืนนี้พรุ่งนี้ก็ไปทำงานได้ตามปกติ
สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนการรักษาหลุมสิวด้วย Subcision
- อาจต้องทำการรักษาหลุมสิวด้วยวิธีอื่นควบคู่ไปด้วย เนื่องจากการรักษาด้วยวิธี Subcision เป็นแค่การตัดเซาะพังผืด และช่วยกระตุ้นการสร้างเซลผิวจากการทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ผิวเท่านั้น อาจไม่สามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ถึงชั้นหนังที่เหมาะสมได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการรักษาหลุมสิวด้วย Subcision มักจะรักษาควบคู่ไปกับวิธีรักษาด้วย Dermaroller จะได้ผลการรักษาที่ดีมาก แต่ถ้าเป็นหลุมสิวที่ไม่ลึกและไม่เยอะมาก รักษาหลุมสิวด้วยวิธีนี้ก็เพียงพอแล้ว
- เข็มที่ใช้ต้องเป็นเข็ม Nokor Needle เท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ว่าจะใช้เข็มอะไรมาทำก็ได้นะครับ หากใช้เข็มอื่นๆนอกจะจะตัดพังผืดไม่ขาดแล้ว ยังอาจจะทำให้เจ็บตัวฟรีๆด้วยนะครับ
โดยส่วนตัวจากประสบการณ์ตรง ผมคิดว่าการรักษาหลุมสิวด้วย Subcision เป็นการรักษาที่ช่วยเรื่องหลุมสิวได้ดีมากครับ อาจเป็นเพราะเป็นวิธีรักษาที่ใช้รักษาหลุมสิวโดยเฉพาะ เป็นการช่วยกระตุ้นหลุมสิวในช่วงเริ่มรักษาได้เป็นอย่างดี และอย่างที่บอกไปหากทำควบคู่กับ Dermaroller ด้วยแล้วจะช่วยให้หลุมสิวตื้นขึ้นกว่า 50% เลยครับ หรือบางคนที่ไม่เป็นมากก็อาจจะหายไปเลยก็ได้ แต่การรักษาจะเห็นผลจริงอาจจะต้องทำมากกว่า 1 ครั้ง และต้องรอคอยให้ผิวหน้าของเรารักษาหลุมสิวของเราให้ตื้นขึ้นตามธรรมชาติด้วยครับ จากประสบการณ์ 6 เดือนค่อยฟันธงครับว่ารักษาได้ผลหรือเปล่า หวังว่าประสบการณ์และความรู้จากบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับคนที่เป็นหลุมสิวทุกคนครับ ผมก็คนนึงล่ะครับที่หน้าเป็นหลุมเป็นบ่อแต่ผมก็ไม่เคยท้อครับ ผมก็หวังว่าเพื่อนๆก็คงจะไม่ท้อ และสู้ต่อไปนะครับ "มาเอาชนะหลุมสิวไปด้วยกันครับ"
เปรียบเทียบการรักษาหลุมสิวด้วย subcision และ mini subcision แบบไหนดีกว่ากัน http://acneflaw.blogspot.com/2015/11/subcision-vs-mini-subcision.html
ตอบลบได้ความรู้ดีมากคะ
ตอบลบ