แผลคีลอยด์จากสิว เป็นสิวอักเสบบ่อยๆระวังให้ดี


แผลคีลอยด์จากสิว

ปกติคนที่เป็นสิวอักเสบบ่อยๆมักต้องระวังเรื่องปัญหาแผลเป็นจากสิวหรือหลุมสิวเป็นพิเศษ แต่ก็มีบางครั้งที่แผลเป็นที่เกิดขึ้นไม่ได้ยุบตัวลงแต่กลับนูนมากขึ้นผิดปกติ ซึ่งเราเรียกลักษณะแผลเป็นแบบนี้ว่า "แผลคีลอยด์" แผลคีลอยด์คืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร? และถ้าเราเป็นควรจัดการหรือรักษายังไง? วันนี้ Acnedefend มีเรื่องราวเกี่ยวกับแผลคีลอยด์จากสิวมาเล่าให้ฟังครับ


แผลคีลอยด์ คือ อะไร?


แผลคีลอยด์ คือ แผลเป็นนูนที่เกิดขึ้นหลังจากการที่ผิวหนังได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาการนูนที่เกิดขึ้นมีผลมาจากการทีเนื้อเยื่อบริเวณรอบผิวซ่อมแซมตัวเองมากกว่าปกติ มากจนเกินรอยแผลที่เกิดขึ้น ล้นออกมาจนเป็นแผลคีลอยด์อย่างที่เห็น และหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลคีลอยด์ก็คือ การเป็นสิวอักเสบนั่นเอง

แผลคีลอยด์อันตรายหรือไม่?


จริงๆแล้วแผลคีลอยด์ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด เพียงแต่อาจสร้างความรำคาญหรืออับอายให้กับคนที่เป็นเท่านั้น โดยเฉพาะแผลคีลอยด์ที่เกิดจากสิวบริเวณใบหน้า ถึงแม้จะเกิดได้น้อยกว่าบริเวณอื่น แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะคนที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นแผลเป็นคีลอยด์ จะมีโอกาสเป็นมากกว่า


วิธีแก้ปัญหาแผลคีลอยด์




1. ทายาในกลุ่ม Allium Cepa 


Allium Cepa หรือสารสกัดจากหัวหอมสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดแผลคีลอยด์ได้ ช่วยให้แผลเป็นอ่อนนุ่มลง ยิ่งถ้าทาหลังจากเกิดแผลใหม่จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดแผลคีลอยด์ได้ดีขึ้น แผลใหม่ที่ยังไม่เป็นคีลอยด์จะใช้เวลาทาประมาณ 4 เดือน แต่ถ้าเป็นคีลอยด์แล้วอาจต้องใช้เวลา 6-7 เดือนขึ้นไปจึงจะหาย แต่ถ้ายังไม่หายคงต้องรักษาด้วยวิธีการอื่นต่อไป ตัวอย่างครีมในกลุ่ม Allium Cepa เช่น Hiruscar Postacne , Clinascar gel , Mederma , Scaderm plus ใช้ทาหลังล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ทาตรงบริเวณที่เป็นแผลคีลอยด์จากสิว การคลึงเบาๆเพื่อให้ครีมซึมเข้าผิวจะช่วยให้แผลเป็นอ่อนนุ่มเร็วขึ้น


แผ่นปิดซิลิโคน สำหรับแผลคีลอยด์

2. แผ่นปิดซิลิโคน


แผ่นปิดซิลิโคนเป็นแผ่นซิลิโคนใสหนา ใช้ปิดแผลคีลอยด์ช่วยป้องกันการเกิดแผลคีลอยด์ ช่วยให้แผลคีลอยด์แบนราบลง แปะทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงจะช่วยให้แผลคีลอยด์หายเร็วขึ้น แต่ตอนอาบน้ำอย่าลืมแกะออกก่อนนะ ถามว่าแผ่นปิดซิลิโคนช่วยให้แผลคีลอยด์ยุบลงดีแค่ไหนก็แล้วแต่การตอบสนองของแต่ละคน และลักษณะแผลแผลคีลอยด์ที่เป็น ถ้าเป็นแผลใหม่จะใช้ได้ผลดี แต่ถ้าเป็นแผลคีลอยด์ที่เป็นนานแล้วอาจใช้ไม่ได้ผลเลยก็ได้

3. ฉีดยาในกลุ่มสเตียรอยด์


การฉีดยาเป็นวิธีที่ช่วยให้แผลคีลอยด์ยุบลงได้ดีเยี่ยม เพราะสเตียรอยด์จะช่วยให้แผลยุบอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดการเจ็บและคันได้เป็นอย่างดี แต่ข้อเสียของการฉีดยาก็คือต้องฉีดบ่อย ถ้าแผลคีลอยด์ขนาดเล็กอาจฉีดแค่ 2 ครั้งก็เห็นผล แต่ถ้าแผลขนาดใหญ่อาจต้องฉีด 8-10 ครั้งเลยทีเดียว

4. การยิงเลเซอร์ลดคีลอยด์


การยิงเลเซอร์เป็นการยิงลำแสงไปยังบริเวณที่เป็นแผลซึ่งทำให้เส้นเลือดหดตัวลง ลดความแดงบริเวณแผลคีลอยด์ ช่วยให้สีผิวดูสม่ำเสมอ ข้อดีคือยิงแล้วไม่เกิดบาดแผล สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ข้อเสียคือต้องยิงหลายครั้งจึงจะเห็นผล ส่วนใหญ่มักทำร่วมกับการฉีดยาเพื่อให้ผลการรักษาดีขึ้น

     แผลคีลอยด์เป็นแผลเป็นที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย และเกิดได้จากหลายสาเหตุ ถึงแม้ว่าการเป็นสิวอาจทำให้เกิดแผลคีลอยด์ได้ แต่มักเกิดที่หน้าอก หัวไหล่ หลัง หู ได้มากว่าที่หน้า ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดแผลคีลอยด์ ระวังเรื่องการบีบสิวและการทำความสะอาดผิวหน้าให้ดี ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย ลดความเสี่ยงการเกิดแผลคีลอยด์ที่อาจตามมาครับ

Share on Google Plus

About Untitle

บล็อกรักษาสิวอุดตัน สิวอักเสบ สิวผด สิวสเตียรอยด์ สิวเสี้ยน รักษาหลุมสิว รักษาสิวด้วยธรรมชาติ เลเซอร์รักษาสิว แชร์ประสบการณ์รักษาสิวผ่านมุมมองของ Acnedefend บล็อกเพื่อคนเป็นสิวทุกๆคน

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น